หลายคนที่เคยเข้าโรงรับจำนำ คงเคยเห็นหลงจู๊เดาะทองให้เห็นแล้วนะครับ ตอนผมเด็กๆ แม่เคยพาเข้าโรงรับจำนำเหมือนกันนะครับ เอาทองไปจำนำมาจ่ายค่าเทอม ก็ยังสงสัยว่า เห้ย...คือแค่เอาทองไปเขย่าบนมือ ขูดๆ เคาะๆ แล้วรู้ได้ไงว่าเป็นทองจริงวะ มันน่าสงสัยจริงๆนะ ว่าป่ะ...? เคล็ดหลักวิชานี้สามารถฝึกฝนกันได้ทุกคนนะครับ มันไม่ใช่เรื่องยากเลย แก่นมันอยู่ตรงที่คุณต้องจดจำน้ำหนักของทองบนมือคุณให้ได้ก็แค่นั้น
มาาาา!….ว่าแล้วก็มาเริ่มฝึกวิชากันดูเลยเคล็ดหลักวิชา กระบวนท่าที่1 : หยั่งรู้ (สสาร และความหนา) ก่อนปฏิบัติจะเป๊ะ ก็ต้องมาศึกษาทฤษฏีกันก่อน
สสาร | ความหนาแน่นในหน่วย kg/m3 |
แพลทินัม | 21450 |
ทองคำ | 19300 |
ทังสเตน | 19250 |
แพลเลเดียม | 12023 |
ตะกั่ว | 11340 |
เงิน | 10490 |
ทองแดง | 8960 |
เหล็ก | 7870 |
ไทเทเนียม | 4507 |
อะลูมิเนียม | 2700 |
ขอบคุณข้อมูลจาก : wikipedia.org
จากตารางจะเห็นว่า ถ้าในปริมาตรที่เท่ากัน ทองคำ มีความหนาแน่นอยู่ที่ 19300 ในขณะที่โลหะเงินอยู่ที่ 10490 และทองแดง 8960 ตามลำดับ แต่เอาเถอะครับ ตัวเลขจะเท่าไรก็ไม่ต้องไปจำมันมาก เอาแค่รู้ว่าทองคำหนักกว่าเงิน และทองแดง
ถ้าจะเอาแค่ทฤษฎีแค่นี้มาสอนกัน มันก็ไม่ใช่เข้มซะแล้ว ถึงขั้นนี้แล้วมันต้องของจริง เอาทองจริง เงินจริง มาลองกันเลย (ท้ายบทความมีคลิปนะ อ่านให้จบก่อน แล้วค่อยไปดู)
การทดสอบของผมจะใช้ โลหะ 3ชนิด มาเพื่อทำการฝึกเคล็ดวิชา สาเหตุที่ผมเลือกใช้โลหะทั้ง 3ชนิดนี้แบบเป็นแท่ง เพราะว่าจะทำให้ผู้อ่านทุกท่านเข้าใจง่าย และมองเห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นไปอีก ถ้าหากว่าผมใช้พวกสร้อยทองรูปพรรณมาสอนโยน มันก็จะมีทั้งทองตัน ทองโปร่งอีก ก็จะไม่ได้เห็นขนาดที่แท้จริงของโลหะนั้นๆ งั้นเรามาเริ่มฝึกกันเลยดีกว่าครับ ผมเตรียมโลหะไว้ 3ชนิดดังนี้
1. ทองคำแท่งบริสุทธิ์ 99% (น้ำหนัก 100กรัม)2. เงินแท่งบริสุทธิ์ 99% (น้ำหนัก 100กรัม)
3. ทองแดงแท่งบริสุทธิ์ 99% (น้ำหนัก 100กรัม)
3. ทองแดงแท่งบริสุทธิ์ 99% (น้ำหนัก 100กรัม)
เคล็ดหลักวิชา กระบวนท่าที่ 2 : ฝ่ามือเดาะ กะเทาะโลหะ (นี่เอาชื่อเท่ๆ ไว้ก่อนนะครับ 555+) สิ่งแรกที่คุณต้องสังเกตุก่อนคือรูปทรงของวัตถุ แล้วลองใช้เคล็ดวิชาหยั่งรู้คำนวนในหัวก่อน ว่าถ้ามันอยู่บนฝ่ามือแล้ว น้ำหนักมันจะต้องประมาณไหน ทดสอบลองเดาะบนฝ่ามือหลายๆครั้ง เพื่อย้ำน้ำหนักสร้างความมั่นใจ **** หากลองทำเองที่บ้าน ก็ลองถอดสร้อยคอทองคำ มาลองเดาะบนมือดูครับ แล้วจดจำน้ำหนักของทองไว้ สมมุติว่าสร้อยคอหนัก 1บาท เดาะได้น้ำหนักเท่านี้นะ 2บาท เดาะได้น้ำหนักเท่านี้นะ ให้เราจดจำไว้ พอเวลาไปเจอสร้อยที่ทำจากโลหะอื่น เราก็จะรับรู้ได้ทันที ****
โลหะ 3ชนิดนี้ เหมือนกันตรงที่น้ำหนักเท่ากัน 100กรัม แต่สิ่งที่ต่างกันคือขนาด ผมใช้ทองคำ 100กรัม เทลงบล็อกในขนาดที่เท่ากัน แต่กลายเป็นว่าทองบางที่สุด ซึ่งบางกว่าโลหะเงินเกือบ 2เท่า และโลหะเงินก็บางกว่าทองแดงหน่อยนึง ดังนั้นมันจึงสอดคล้องกับทฤษฏีที่ผมให้ดูตอนแรกเรื่องความหนาแน่นของสสารชนิดต่างๆ
เคล็ดลับเทคนิคพวกนี้ คุณสามารถฝึกฝนได้เอง หากฝึกจนชำนาญแล้ว คุณก็จะสามารถแยกแยะทองจริง ทองปลอม เงินแท้ เงินปลอม ได้ด้วยแค่การวางแล้วโยนบนฝ่ามือ แต่ก็ไม่ใช่จะแยกแยะได้ทั้งหมดนะครับ เพราะต่อให้คุณจะเก่งแค่ไหน แต่คนที่จะมาหลอกคุณได้มันก็ต้องเตรียมทางแก้มาแล้ว ถ้าลองสังเกตุดูที่ตาราง จะมีโลหะชนิดหนึ่ง ที่ความหนาแน่นใก้ลเคียงกับทองเลยทีเดียว นั่นคือ “ทังเสตน” แหม่…ลองถ้าผมโดนทังเสตนชุบทองเข้าไป โยนให้ตายยังไงก็ไม่ยักจะรู้นะครับ เพราะความหนาแน่นมันใก้ลกับทองซะเหลือเกิน เรื่องนี้เอาไว้บทความหน้าผมจะมาต่อให้ ลองฝึกกันทีละเสต็ปครับ เดี๋ยวคุณก็จะดูทองได้อย่างขั้นเทพเอง
ถ้าท่านชอบบทความนี้ก็ กดปุ่ม Like ใต้บทความ ส่วนถ้ารู้สึกว่า เห้ย..มันใช่อะ มีประโยชน์โครตๆเลยว่ะ ก็กดปุ่ม Google+ ทำง่ายๆเพียงแค่นี้ ไม่ถึง 2วินาที แต่รู้ไหมครับว่าสิ่งนี้จะเป็นการบอกให้ผมรู้ว่าผู้อ่านชอบในสิ่งที่ผมเขียน ทำให้ผมอยากเขียนบทความอื่นๆต่อไป ขอบคุณในกำลังใจเล็กๆ ที่มีให้กันครับ ไปดูคลิปกันเลย >>>>